แนวคิดและหลักการ
การจัดการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21


  • การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นแนวคิดที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลก ในปัจจุบัน ที่เป็นผลกระทบมาจากความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างมหาศาล
  • ส่งผลให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก ต้องกลับมาทบทวนพัฒนาหลักสูตรและการจัดการศึกษา รวมทั้งการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ให้ผู้เรียนในฐานะเป็นพลเมืองของชาติ ให้มีความพร้อมสำหรับการดำรงชีวิต การเรียนรู้ และการทำงาน ในศตวรรษที่ 21 อย่างเป็นรูปธรรม
  • สำหรับประเทศไทย กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเยาวชนของชาติเข้าสู่ศตวรรษที่ 21
  • โดยมีการกำหนดสมรรถนะสำคัญของ ผู้เรียน และมุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม มีความเป็นไทย ขณะเดียวกัน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานก็มีการกำหนดยุทธศาสตร์ ในการ เตรียมความพร้อมผู้เรียนเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก
  • โดยมุ่งสร้างผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานสากล ทั้งนี้ ในการสร้างผู้เรียนให้มีศักยภาพ ทักษะ และความรู้พื้นฐานในการดำรงชีวิตในโลกศตวรรษที่ 21 นั้น
  • จะต้องอาศัยการจัดการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องและเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะการคิด การเรียนรู้ ผ่านโครงงานหรือโครงการการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้น การเรียนรู้ในรูปของการค้นคว้าด้วยตนเอง
  • ซึ่งเป็น พื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) รวมถึงการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการ แสวงหาความรู้ของผู้เรียน
  • ผู้สอน ได้เล็งเห็นความสำคัญของนโยบายปฏิรูปการเรียนรู้ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้เรียน รองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียนและยกระดับศักยภาพ ให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล จึงได้จัดทำ Blog Sites หรับใช้เป็นแนวทางจัดการเรียนการสอน
  • เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพทัดเทียมกับนานาประเทศ อันจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน โดยดำเนินการจัดทำแนวทางการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21ตามหลักการสำคัญต่อไปนี้
    • 1. มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนรักที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถเรียนรู้พัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    • 2. มุ่งเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีทักษะการคิด ทักษะชีวิต และทักษะด้านการจัดการข้อมูล สารสนเทศ อย่างมี ประสิทธิภาพ (Information Technology)
    • 3. มุ่งฝึกฝนให้ผู้เรียนสามารถสืบค้นข้อมูล (Data) จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ สามารถวิเคราะห์ความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ และสามารถแปลงข้อมูลเป็นความรู้ (Knowledge) เพื่อนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    • 4. มุ่งสร้างเสริมนิสัยใฝ่เรียนรู้ และฝึกฝนทักษะวิธีการเรียนรู้แก่ผู้เรียน (Learning skill) ให้สามารถเข้าถึง แหล่งข้อมูลความรู้ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล สามารถนำมาใช้ในการเรียน การทำงาน และการ ดำเนินชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ

วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ใบงานที่ 1.1

ใบงานที่ 1.1
เรื่อง  เหตุการณ์และความสัมพันธ์ทางศักราช
คำชี้แจง  ให้นักเรียนบอกศักราชที่เกี่ยวข้อง  และเทียบศักราชที่กำหนดเป็นพุทธศักราชให้ถูกต้อง
เหตุการณ์ที่ 1
  •  เมื่อวันที่  11  กันยายน  ค.ศ. 2001  ได้มีเครื่องบินพาณิชย์อเมริกันพุ่งชนตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ย่านธุรกิจใจกลางมหานครนิวยอร์ก  ประเทศสหรัฐอเมริกา  ทำให้ตึกสูงระฟ้าถล่มลงมาในพริบตา  เหลือเพียงความทรงจำ  ส่งผลให้ผู้คนต้องบาดเจ็บล้มตายมากมาย เป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก
  •  ศักราชที่เกี่ยวข้อง  คือ                                                                                                           
  •  เทียบเป็นพุทธศักราช  คือ                                                                                                     



เหตุการณ์ที่ 2
  • วิกฤตการณ์  ร.ศ. 112  เป็นเหตุการณ์ร้ายแรงมากในประวัติศาสตร์ไทย  โดยสาเหตุเกิดจากฝรั่งเศสต้องการขยายอิทธิพลครอบครองลาว  เพื่อหวังใช้แม่น้ำโขงที่ไหลผ่านลาวเป็นเส้นทางไปสู่จีน  ซึ่งเป็นตลาดการค้าที่สำคัญ แต่ขณะนั้นลาวเป็นประเทศราชของไทย  ฝรั่งเศสได้อ้างสิทธิเหนือดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง  ในวันที่  13 กรกฎาคม  พ.ศ.  2436  ฝรั่งเศสได้ส่งเรือรบ  2  ลำเข้าไปในแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อบีบบังคับให้ไทยทำตามข้อเสนอจึงเกิดการปะทะกัน  และเรือรบของฝรั่งเศสได้แล่นเข้ามาถึงกรุงเทพฯ  โดยทูตฝรั่งเศสได้ยื่นข้อเสนอแก่ไทยหลายข้อ  แต่ไทยรับเพียงบางข้อ  ฝรั่งเศสจึงส่งเรือรบปิดอ่าวไทย  จนไทยต้องยอมทำสนธิสัญญาที่ทำให้เราต้องเสียผลประโยชน์
  • ศักราชที่เกี่ยวข้อง  คือ                                                                                                           
  • เทียบเป็นพุทธศักราช  คือ                                                                 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น