แนวคิดและหลักการ
การจัดการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21


  • การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นแนวคิดที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลก ในปัจจุบัน ที่เป็นผลกระทบมาจากความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างมหาศาล
  • ส่งผลให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก ต้องกลับมาทบทวนพัฒนาหลักสูตรและการจัดการศึกษา รวมทั้งการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ให้ผู้เรียนในฐานะเป็นพลเมืองของชาติ ให้มีความพร้อมสำหรับการดำรงชีวิต การเรียนรู้ และการทำงาน ในศตวรรษที่ 21 อย่างเป็นรูปธรรม
  • สำหรับประเทศไทย กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเยาวชนของชาติเข้าสู่ศตวรรษที่ 21
  • โดยมีการกำหนดสมรรถนะสำคัญของ ผู้เรียน และมุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม มีความเป็นไทย ขณะเดียวกัน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานก็มีการกำหนดยุทธศาสตร์ ในการ เตรียมความพร้อมผู้เรียนเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก
  • โดยมุ่งสร้างผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานสากล ทั้งนี้ ในการสร้างผู้เรียนให้มีศักยภาพ ทักษะ และความรู้พื้นฐานในการดำรงชีวิตในโลกศตวรรษที่ 21 นั้น
  • จะต้องอาศัยการจัดการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องและเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะการคิด การเรียนรู้ ผ่านโครงงานหรือโครงการการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้น การเรียนรู้ในรูปของการค้นคว้าด้วยตนเอง
  • ซึ่งเป็น พื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) รวมถึงการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการ แสวงหาความรู้ของผู้เรียน
  • ผู้สอน ได้เล็งเห็นความสำคัญของนโยบายปฏิรูปการเรียนรู้ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้เรียน รองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียนและยกระดับศักยภาพ ให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล จึงได้จัดทำ Blog Sites หรับใช้เป็นแนวทางจัดการเรียนการสอน
  • เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพทัดเทียมกับนานาประเทศ อันจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน โดยดำเนินการจัดทำแนวทางการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21ตามหลักการสำคัญต่อไปนี้
    • 1. มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนรักที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถเรียนรู้พัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    • 2. มุ่งเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีทักษะการคิด ทักษะชีวิต และทักษะด้านการจัดการข้อมูล สารสนเทศ อย่างมี ประสิทธิภาพ (Information Technology)
    • 3. มุ่งฝึกฝนให้ผู้เรียนสามารถสืบค้นข้อมูล (Data) จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ สามารถวิเคราะห์ความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ และสามารถแปลงข้อมูลเป็นความรู้ (Knowledge) เพื่อนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    • 4. มุ่งสร้างเสริมนิสัยใฝ่เรียนรู้ และฝึกฝนทักษะวิธีการเรียนรู้แก่ผู้เรียน (Learning skill) ให้สามารถเข้าถึง แหล่งข้อมูลความรู้ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล สามารถนำมาใช้ในการเรียน การทำงาน และการ ดำเนินชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ

วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ใบงานที่ 6.1 แหล่งอารยธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ใบงานที่ 6.1
แหล่งอารยธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
คำชี้แจง   ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

    1. อารยธรรม หมายถึงอะไร
         อารยธรรม หมายถึง ความเจริญของมนุษยชาติในด้านต่างๆ ทั้งทางด้านการผลิตอาหาร การผลิตเครื่องมือ เครื่องใช้ การอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน การผลิตตัวอักษรขึ้นใช้ และการจัดระเบียบการปกครอง

    2. หลักฐานใดที่แสดงว่า แหล่งโบราณคดีถ้ำหลังโรงเรียนเคยเป็นที่อยู่ของมนุษย์ตัวตรง
         มีการค้นพบเครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยหินสำหรับล่าสัตว์ และจับปลา

    3. แหล่งวัฒนธรรมดองซอนตั้งอยู่ที่ใด และมีความสำคัญอย่างไร
         ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำแดง ในตังเกี๋ย หรือประเทศเวียดนามตอนเหนือ มีความสำคัญ คือ พบกลองมโหระทึก
ทำด้วยสำริดซึ่งมีอายุประมาณ 2,500 ปี ล่วงมาแล้ว

    4. กลองมโหระทึกทำด้วยสำริดที่พบที่แหล่งวัฒนธรรมดองซอนทำขึ้นเพื่ออะไร
         สันนิษฐานว่าน่าจะใช้ในการประกอบพิธีกรรม เช่น ขอฝน เนื่องจากมีรูปสัตว์ นก กบ อยู่ด้านบนของกลอง

    5. แหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงตั้งอยู่ที่ใด และมีความสำคัญอย่างไร
         ตั้งอยู่ที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี มีความสำคัญ คือ เป็นแหล่งวัฒนธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มี
ความเจริญทางวัฒนธรรมสูงมาแต่โบราณ

6. ข้อพิสูจน์ที่ว่าแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงเป็นแหล่งวัฒนธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ คืออะไร
         การค้นพบหลักฐานว่าชาวบ้านเชียงรู้จักทำการเกษตร เลี้ยงสัตว์ ทำเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ จากสำริดและ
เหล็ก ทำเครื่องปั้นดินเผาลายขูดขีด ลายเชือกทาบและขัดมัน และภาชนะดินเผาลายเขียนสี รูปทรงต่างๆ และมีพิธีฝังศพ

7. แหล่งวัฒนธรรมยะรังตั้งอยู่ที่ใด และมีความสำคัญอย่างไร
         ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำปัตตานี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี มีความสำคัญ คือ เป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่ที่เคยเป็น 
เมืองท่าค้าขายระหว่างจีนกับอินเดีย 

    8. แหล่งอารยธรรมต่างๆ มีความสำคัญอย่างไร          
           (พิจารณาตามคำตอบของนักเรียน  โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของครูผู้สอน)

60 ความคิดเห็น:

  1. คำตอบ
    1. มนุษย์ให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์อารยธรรมขึ้นมาก็เพื่อต้องการสร้างสิ่งต่างๆขึ้นมาเพื่อสนองความต้องการและปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองและเพื่อความเจริญของสังคมโดยรวม โดยอาศัยปัจจัย ดังนี้ อาหาร เครื่องนุ่มห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค ศาสนาและความเชื่อ : มนุษย์ต้องการความมั่นคงทางด้านจิตใจ ค่ะ

      ลบ
  2. แก้งคร้อวิทยามีคนมามั้ยย

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ18 มีนาคม 2564 เวลา 23:53

    หวัดดีจาก ร.ร.สุราษฎร์ธานี ๒

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ18 มีนาคม 2564 เวลา 23:54

    ม.1/6

    ตอบลบ
  5. สิทธิหล่อตายควายล้ม

    ตอบลบ
  6. ดาราสมุทร ม.เอก ใครมาบ้าง

    ตอบลบ
  7. 1/2โรงเรียนอุดมอยู่ที่หลังสวน

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. 1/2อุดมเหมือนกันครับพริ้55555

      ลบ
  8. มายด์เองก็โสด🥺💗

    ตอบลบ