แนวคิดและหลักการ
การจัดการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21


  • การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นแนวคิดที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลก ในปัจจุบัน ที่เป็นผลกระทบมาจากความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างมหาศาล
  • ส่งผลให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก ต้องกลับมาทบทวนพัฒนาหลักสูตรและการจัดการศึกษา รวมทั้งการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ให้ผู้เรียนในฐานะเป็นพลเมืองของชาติ ให้มีความพร้อมสำหรับการดำรงชีวิต การเรียนรู้ และการทำงาน ในศตวรรษที่ 21 อย่างเป็นรูปธรรม
  • สำหรับประเทศไทย กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเยาวชนของชาติเข้าสู่ศตวรรษที่ 21
  • โดยมีการกำหนดสมรรถนะสำคัญของ ผู้เรียน และมุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม มีความเป็นไทย ขณะเดียวกัน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานก็มีการกำหนดยุทธศาสตร์ ในการ เตรียมความพร้อมผู้เรียนเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก
  • โดยมุ่งสร้างผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานสากล ทั้งนี้ ในการสร้างผู้เรียนให้มีศักยภาพ ทักษะ และความรู้พื้นฐานในการดำรงชีวิตในโลกศตวรรษที่ 21 นั้น
  • จะต้องอาศัยการจัดการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องและเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะการคิด การเรียนรู้ ผ่านโครงงานหรือโครงการการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้น การเรียนรู้ในรูปของการค้นคว้าด้วยตนเอง
  • ซึ่งเป็น พื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) รวมถึงการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการ แสวงหาความรู้ของผู้เรียน
  • ผู้สอน ได้เล็งเห็นความสำคัญของนโยบายปฏิรูปการเรียนรู้ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้เรียน รองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียนและยกระดับศักยภาพ ให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล จึงได้จัดทำ Blog Sites หรับใช้เป็นแนวทางจัดการเรียนการสอน
  • เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพทัดเทียมกับนานาประเทศ อันจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน โดยดำเนินการจัดทำแนวทางการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21ตามหลักการสำคัญต่อไปนี้
    • 1. มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนรักที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถเรียนรู้พัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    • 2. มุ่งเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีทักษะการคิด ทักษะชีวิต และทักษะด้านการจัดการข้อมูล สารสนเทศ อย่างมี ประสิทธิภาพ (Information Technology)
    • 3. มุ่งฝึกฝนให้ผู้เรียนสามารถสืบค้นข้อมูล (Data) จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ สามารถวิเคราะห์ความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ และสามารถแปลงข้อมูลเป็นความรู้ (Knowledge) เพื่อนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    • 4. มุ่งสร้างเสริมนิสัยใฝ่เรียนรู้ และฝึกฝนทักษะวิธีการเรียนรู้แก่ผู้เรียน (Learning skill) ให้สามารถเข้าถึง แหล่งข้อมูลความรู้ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล สามารถนำมาใช้ในการเรียน การทำงาน และการ ดำเนินชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ

วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ใบงานที่ 6.2 มรดกโลก

ใบงานที่ 6.2 มรดกโลก

คำชี้แจง   ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
    1. มรดกโลกคืออะไร และแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
         มรดกโลก หมายถึง แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติในโลกที่มีคุณค่าสูงต่อมนุษย์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท 
คือ มรดกทางวัฒนธรรม (Culture Heritage) มรดกทางธรรมชาติ (Natural Heritage) และมรดกโลกผสมผสาน 
(Mixed Heritage)
    2. ถ้าประเทศต่างๆ ต้องการให้มีการรับรองและคุ้มครองมรดกโลกของประเทศตนจะต้องทำอย่างไร
                สมัครเป็นสมาชิกอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ

   3. มรดกความทรงจำแห่งโลก คืออะไร
         มรดกความทรงจำแห่งโลก คือ แผนงานที่องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือ   
ยูเนสโก กำหนดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) เพื่อนำมรดกภูมิปัญญาของโลกที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร 
ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกไว้ในรูปแบบใดหรือของประเทศใดก็ตามมาเผยแพร่ 
   4. เหตุผลใดที่จัดให้มีมรดกความทรงจำแห่งโลก
         เพื่ออนุรักษ์และการเผยแพร่มรดกภูมิปัญญาของโลก ซึ่งเป็นแหล่งรวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ที่สามารถ             
สะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายทั้งในด้านของวัฒนธรรม จากสังคมในอดีตให้แก่สังคมปัจจุบัน และเพื่อที่จะสืบสาน         
ส่งต่อให้แก่สังคมในอนาคต

     5. มรดกความทรงจำแห่งโลกในประเทศไทย ได้แก่อะไรบ้าง
1)  ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 
2)  ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)
3)  เอกสารสำคัญของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เกี่ยวกับการปฏิรูปการบริหารและ การปกครองแผ่นดิน
6. นักเรียนคิดว่า ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช หรือศิลาจารึกหลักที่ 1 สมควรเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก เพราะเหตุใด
         เป็นหลักฐานลายลักษณ์อักษรชิ้นสำคัญที่สุด ที่แสดงถึงความมีอยู่ของอาณาจักรสุโขทัยที่มีความสมบูรณ์ที่สุด 
7. ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร นอกจากได้รับการยกย่องเป็นมรดกความทรงจำ  แห่งโลกในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกแล้วยังได้รับการยกย่องอย่างไรอีกบ้าง
         เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลกในทะเบียนนานาชาติ 
    8. เอกสารสำคัญในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ได้รับการยกย่องเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลกมีความสำคัญอย่างไร
         เอกสารเกี่ยวกับการปฏิรูปการบริหารการปกครองแผ่นดิน การเปลี่ยนแปลงของสยามประเทศ
  9. มรดกความทรงจำแห่งโลกของไทยมีความสำคัญต่อโลกอย่างไรบ้าง
            (พิจารณาตามคำตอบของนักเรียน โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของครูผู้สอน)

41 ความคิดเห็น:

  1. 1/6 มีใครมาบ้างวันนี้ สพค. 55

    ตอบลบ
  2. ใครรู้ข้อ10บ้างง่าาา...

    ตอบลบ
  3. ใครอยู่1/3 พน.บ้างง

    ตอบลบ
  4. ขอดูจ้อช้อนหน่อย



    ตอบลบ
  5. เป็นเร่อไรกันเน็ตอะเติมเองมั้ง

    ตอบลบ
  6. ไอนัทมึงมาต่อยกับกุมาอย่าหรอย

    ตอบลบ
  7. อย่าคิดว่าท้าวแรงมึงอ่ะกุเตะแค้งเดียวก้พลัด

    ตอบลบ
  8. กูว่าเเล้วมึงต้องอ่าน

    ตอบลบ
  9. ครูเเม่งสั่งงานเยอะเมื่อกูเป็นเครื่องพิมพ์อะ😭

    ตอบลบ