แนวคิดและหลักการ
การจัดการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21


  • การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นแนวคิดที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลก ในปัจจุบัน ที่เป็นผลกระทบมาจากความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างมหาศาล
  • ส่งผลให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก ต้องกลับมาทบทวนพัฒนาหลักสูตรและการจัดการศึกษา รวมทั้งการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ให้ผู้เรียนในฐานะเป็นพลเมืองของชาติ ให้มีความพร้อมสำหรับการดำรงชีวิต การเรียนรู้ และการทำงาน ในศตวรรษที่ 21 อย่างเป็นรูปธรรม
  • สำหรับประเทศไทย กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเยาวชนของชาติเข้าสู่ศตวรรษที่ 21
  • โดยมีการกำหนดสมรรถนะสำคัญของ ผู้เรียน และมุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม มีความเป็นไทย ขณะเดียวกัน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานก็มีการกำหนดยุทธศาสตร์ ในการ เตรียมความพร้อมผู้เรียนเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก
  • โดยมุ่งสร้างผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานสากล ทั้งนี้ ในการสร้างผู้เรียนให้มีศักยภาพ ทักษะ และความรู้พื้นฐานในการดำรงชีวิตในโลกศตวรรษที่ 21 นั้น
  • จะต้องอาศัยการจัดการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องและเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะการคิด การเรียนรู้ ผ่านโครงงานหรือโครงการการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้น การเรียนรู้ในรูปของการค้นคว้าด้วยตนเอง
  • ซึ่งเป็น พื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) รวมถึงการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการ แสวงหาความรู้ของผู้เรียน
  • ผู้สอน ได้เล็งเห็นความสำคัญของนโยบายปฏิรูปการเรียนรู้ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้เรียน รองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียนและยกระดับศักยภาพ ให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล จึงได้จัดทำ Blog Sites หรับใช้เป็นแนวทางจัดการเรียนการสอน
  • เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพทัดเทียมกับนานาประเทศ อันจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน โดยดำเนินการจัดทำแนวทางการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21ตามหลักการสำคัญต่อไปนี้
    • 1. มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนรักที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถเรียนรู้พัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    • 2. มุ่งเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีทักษะการคิด ทักษะชีวิต และทักษะด้านการจัดการข้อมูล สารสนเทศ อย่างมี ประสิทธิภาพ (Information Technology)
    • 3. มุ่งฝึกฝนให้ผู้เรียนสามารถสืบค้นข้อมูล (Data) จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ สามารถวิเคราะห์ความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ และสามารถแปลงข้อมูลเป็นความรู้ (Knowledge) เพื่อนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    • 4. มุ่งสร้างเสริมนิสัยใฝ่เรียนรู้ และฝึกฝนทักษะวิธีการเรียนรู้แก่ผู้เรียน (Learning skill) ให้สามารถเข้าถึง แหล่งข้อมูลความรู้ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล สามารถนำมาใช้ในการเรียน การทำงาน และการ ดำเนินชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ

วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ใบงานที่ 4.4 พัฒนาการทางด้านสังคมสมัยสุโขทัย

ใบงานที่ 4.4 พัฒนาการทางด้านสังคมสมัยสุโขทัย

คำชี้แจง   ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
    1.  สังคมสุโขทัยประกอบด้วยกลุ่มคนกี่ประเภท แต่ละประเภทมีบทบาทหน้าที่ในสังคมอย่างไรบ้าง
  • สังคมสุโขทัยแบ่งกลุ่มคนออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 
    • 1) บุคคลที่มีอำนาจในการปกครอง ประกอบด้วย 
      • (1) พระมหากษัตริย์ เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครอง
      • (2) พระราชวงศ์ เป็นผู้ที่มีเชื้อสายร่วมกับกษัตริย์ พระราชวงศ์ที่ใกล้ชิดและมีความสามารถอาจได้รับมอบหมายจากพระมหากษัตริย์ให้ปกครองดูแลเมืองสำคัญ หรือมีโอกาสได้สืบราชสมบัติ
      • 3) ขุนนาง เป็นผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลบ้านเมือง ปกครองประชาชน และเป็นผู้นำในการทำสงคราม ปกป้องอาณาจักร
    • 2) บุคคลที่อยู่ใต้ปกครอง ประกอบด้วย
      • (1) ไพร่ หมายถึง ประชาชนทั่วไป มีอิสระในการดำเนินชีวิต มีสิทธิภายใต้กฎหมายกำหนด
      • (2) ข้า หมายถึง กลุ่มคนที่ไม่มีอิสระในการดำเนินชีวิตของตนเอง และต้องเสียสละแรงงานให้กับนาย 


     2.  สุโขทัยจัดระเบียบสังคมที่มีผู้คนหลากหลายให้อยู่กันอย่างสงบสุขได้อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
สุโขทัยมีการตรากฎหมายหลายฉบับ เพื่อสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยให้เกิดขึ้นในสังคม จากการตีความในศิลาจารึกที่ค้นพบ พบว่ากฎหมายในสมัยสุโขทัยมีหลายลักษณะ ดังนี้
    • 1) ลักษณะทรัพย์สินมรดก ตัวอย่างข้อความจากศิลาจารึกหลักที่ 1 ความตอนหนึ่งว่า “...ลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแล้ ล้มตายหายกว่าเหย้าเรือนพ่อเชื้อ เสื้อคำมันช้างขอลูกเมียเยียข้าว ไพร่ฟ้าข้าไท ป่าหมาก ป่าพลู พ่อเชื้อมัน ไว้แก่ลูกมันสิ้น...” หมายความว่า ไม่ว่าจะ เป็นผู้ใดเสียชีวิต ทรัพย์สมบัติต่างๆ ให้ตกทอดเป็นมรดกแก่ลูกของผู้ตาย
    •  2) ลักษณะการพิจารณาคดีความตัวอย่างข้อความจากศิลาจารึก ความตอนหนึ่งว่า “...ลูกเจ้าลูกขุนแลผิดแผกแสกกว้างกัน สวนดูแท้แลจึ่งแล่งความแก่  ข้าด้วย ซื่อ บ่เข้าผู้ลักมักผู้ซ่อน...” แสดงให้เห็นว่า มีการพิจารณาคดีโดยใช้หลักประกันความยุติธรรม เช่น เมื่อพลเมืองผิดใจเป็นความกันจะมีการสอบสวนแน่ชัดจึงตัดสินโดยยุติธรรม 
    • 3) ลักษณะการร้องฎีกา ตัวอย่างข้อความจากศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ความตอนหนึ่งว่า “...ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปก กลางบ้านกลางเมืองมีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจ มันจักกล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้  พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียก เมื่อถามสวนความแก่มันด้วยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม...” แสดงให้เห็นถึงการร้องทุกข์ในสมัยสุโขทัย 
    • 4) ลักษณะโจร จากศิลาจารึกหลักที่ 38 แสดงให้เห็นว่ากฎหมายลักษณะโจร มีลักษณะเป็นกฎหมายอาญามุ่งให้ประชาชนพยายามนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษให้ได้ และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนเป็นพลเมืองดี

3.  พระพุทธศาสนามีบทบาทสำคัญอย่างไรในสังคมสุโขทัย
  •                พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทลังกาวงศ์เป็นกลุ่มสำคัญอีกกลุ่มหนึ่งต่อสังคมสุโขทัย เนื่องจากอนุญาตให้คนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ขุนนาง ไพร่ หรือข้า สามารถบวชเพื่อศึกษาหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาได้ และยังได้รับการอุปถัมภ์จากพระมหากษัตริย์  ตลอดจนเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจในการดำเนินชีวิตของคนสุโขทัย ดังเห็นได้จากข้อความจากศิลาจารึกสมัยสุโขทัยความตอนหนึ่งว่า “...คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวเจ้าท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุนทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายผู้ญีง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน...”

60 ความคิดเห็น:

  1. ครูสั่งการบ้านอยู่พอดีเลย

    ตอบลบ
  2. ขอบคุนต่ะแต่เยอะใปหน่อย

    ตอบลบ
  3. หีๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

    ตอบลบ
  4. ใบงานที่ครูให้มาคำถามตรงกับในนี้เลยอะดีมาก

    ตอบลบ
  5. ครูคงลืมว่าเราสามารถใช้เน็ตได้...

    ตอบลบ
  6. ครูส่งงานนี้ขอบคุณนะคับ

    ตอบลบ
  7. ครู​สั่ง​การบ้าน​พอดี​เลย​ครับ​

    ตอบลบ
  8. ส้มมๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆแจ๊คๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆเก๋ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆเบิ้มๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

    ตอบลบ
  9. อาจารย์​รู้มั้ย ที่ใบอาจารย์​ส่ง​มา เฉลย​มีหมดทุกใบ5555

    ตอบลบ
  10. ทำงานช่วงโควิดเจอคำตอบหมดเลย5555ต้องบอกอาจารไหม5555🤣🤣

    ตอบลบ
  11. ครูพึ่งสั่งงานเปิดมาคือดีใจ เจอเลยอ่ะ ชอบๆๆ

    ตอบลบ
  12. ใครเรียนออนไลน์มาทางนี้

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. 555ปวดหัวกับการเรียนให้ร.ร.เปิดดีกว่า

      ลบ
  13. มีเนื้อหาครบหมดเลยคับ

    ตอบลบ
  14. มีเฉลยก็ดีคับแต่เยอะเกิ้น

    ตอบลบ
  15. 1) ลักษณะทรัพย์สินมรดก ตัวอย่างข้อความจากศิลาจารึกหลักที่ 1 ความตอนหนึ่งว่า “...ลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแล้ ล้มตายหายกว่าเหย้าเรือนพ่อเชื้อ เสื้อคำมันช้างขอลูกเมียเยียข้าว ไพร่ฟ้าข้าไท ป่าหมาก ป่าพลู พ่อเชื้อมัน ไว้แก่ลูกมันสิ้น...” หมายความว่า ไม่ว่าจะ เป็นผู้ใดเสียชีวิต ทรัพย์สมบัติต่างๆ ให้ตกทอดเป็นมรดกแก่ลูกของผู้ตาย
    2) ลักษณะการพิจารณาคดีความตัวอย่างข้อความจากศิลาจารึก ความตอนหนึ่งว่า “...ลูกเจ้าลูกขุนแลผิดแผกแสกกว้างกัน สวนดูแท้แลจึ่งแล่งความแก่ ข้าด้วย ซื่อ บ่เข้าผู้ลักมักผู้ซ่อน...” แสดงให้เห็นว่า มีการพิจารณาคดีโดยใช้หลักประกันความยุติธรรม เช่น เมื่อพลเมืองผิดใจเป็นความกันจะมีการสอบสวนแน่ชัดจึงตัดสินโดยยุติธรรม
    3) ลักษณะการร้องฎีกา ตัวอย่างข้อความจากศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ความตอนหนึ่งว่า “...ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปก กลางบ้านกลางเมืองมีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจ มันจักกล่

    ตอบลบ
  16. เยอะเเต่เขียนหมดก็งง😊👍

    ตอบลบ
  17. ครูหัวควายสั่งเยอะชิบหาย

    ตอบลบ
  18. ดีมากเลยน่ะเนี่ยยยย

    ตอบลบ
  19. ด่ากันทำไมครับ·-·

    ตอบลบ